ถั่วพูเป็นพืชที่ปลูกง่ายและเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ยกเว้นในดินที่มีน้ำขัง ขึ้นได้ในระดับน้ำทะเลจนถึงระดับความสูงที่ 2,300 เมตร ขยายพันธุ์และเพาะปลูกด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการเพาะกล้า
1,016.77 กิโลกรัมต่อไร่
ต้นถั่วพู จัดเป็นไม้เลื้อย ไม่มีเนื้อไม้แต่มีอายุหลายปี ลำต้นเลื้อยพัน เป็นพืชที่มีลำต้นสีเขียวและเขียวปนม่วง ส่วนของรากเป็นรากที่สะสมอาหารอยู่ใต้ดิน มีปมซึ่งเป็นที่อยู่ของเชื้อไรโซเบียมจำนวนมาก ใบถั่วพู ใบเรียงสลับ เป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยมี 3 ใบ โคนใบกลมและเบี้ยว ส่วนปลายใบแหลม มีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปสามเหลี่ยม รูปไข่ และรูปใบหอก[1],[4] ดอกถั่วพู ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบเป็นแบบช่อกระจะ ในช่อหนึ่ง ๆ จะมีดอกอยู่ประมาณ 3-12 ดอก กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันลักษณะคล้ายรูประฆัง ปลายเป็น 5 กลีบ กลีบเป็นซี่สั้น ๆ กลีบดอกมีสีระหว่างขาวและสีม่วงแดง สีน้ำเงิน สีแดง ดอกมีเกสรตัวผู้อยู่ 10 ก้าน แบ่งเป็น 2 มัด มัดหนึ่งมี 9 ก้าน ส่วนอีกมัดมี 1 ก้าน[4] ฝักถั่วพู ฝักเป็นรูปขอบขนานถึงรูปแถบ มีหน้าตัดเป็นรูปสีเหลี่ยม และแต่ละมุมของฝักจะมีปีกตามยาว ปีกมีลักษณะเป็นหยักแบบจักคล้ายฟันเลื่อย มีสีเขียว มีรูปร่างเป็นฝักสี่เหลี่ยม มีปีก 4 ปีก เมื่อตัดตามขวางจะแบ่งได้เป็น 4 แบบคือ rectangular, semi flat, flat on sides และ flat on suture ฝักมีความยาวประมาณ 11.2-29.9 เซนติเมตร สีของฝักมีทั้งสีเขียว สีม่วง และสีเหลือง ส่วนผิวของฝักจะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ แบบผิวเรียบและแบบผิวหยาบมาก ในฝักถั่วพูจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 8-20 เมล็ด[1],[4] เมล็ดถั่วพู ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปกึ่งทรงกลม มีตั้งแต่สีขาว สีเหลือง สีครีม สีน้ำตาล สีดำ และแบบที่เป็นลวดลายต่าง ๆ แต่ส่วนใหญ่แล้วเมล็ดจะมีสีน้ำตาล และยังมีขนาดต่าง ๆ กัน โดยน้ำหนัก 100 เมล็ด อยู่ในช่วง 11-4.6 กรัม
ต้นถั่วพู จัดเป็นไม้เลื้อย ไม่มีเนื้อไม้แต่มีอายุหลายปี ลำต้นเลื้อยพัน เป็นพืชที่มีลำต้นสีเขียวและเขียวปนม่วง ส่วนของรากเป็นรากที่สะสมอาหารอยู่ใต้ดิน มีปมซึ่งเป็นที่อยู่ของเชื้อไรโซเบียมจำนวนมาก ใบถั่วพู ใบเรียงสลับ เป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยมี 3 ใบ โคนใบกลมและเบี้ยว ส่วนปลายใบแหลม มีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปสามเหลี่ยม รูปไข่ และรูปใบหอก[1],[4] ดอกถั่วพู ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบเป็นแบบช่อกระจะ ในช่อหนึ่ง ๆ จะมีดอกอยู่ประมาณ 3-12 ดอก กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันลักษณะคล้ายรูประฆัง ปลายเป็น 5 กลีบ กลีบเป็นซี่สั้น ๆ กลีบดอกมีสีระหว่างขาวและสีม่วงแดง สีน้ำเงิน สีแดง ดอกมีเกสรตัวผู้อยู่ 10 ก้าน แบ่งเป็น 2 มัด มัดหนึ่งมี 9 ก้าน ส่วนอีกมัดมี 1 ก้าน[4] ฝักถั่วพู ฝักเป็นรูปขอบขนานถึงรูปแถบ มีหน้าตัดเป็นรูปสีเหลี่ยม และแต่ละมุมของฝักจะมีปีกตามยาว ปีกมีลักษณะเป็นหยักแบบจักคล้ายฟันเลื่อย มีสีเขียว มีรูปร่างเป็นฝักสี่เหลี่ยม มีปีก 4 ปีก เมื่อตัดตามขวางจะแบ่งได้เป็น 4 แบบคือ rectangular, semi flat, flat on sides และ flat on suture ฝักมีความยาวประมาณ 11.2-29.9 เซนติเมตร สีของฝักมีทั้งสีเขียว สีม่วง และสีเหลือง ส่วนผิวของฝักจะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ แบบผิวเรียบและแบบผิวหยาบมาก ในฝักถั่วพูจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 8-20 เมล็ด[1],[4] เมล็ดถั่วพู ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปกึ่งทรงกลม มีตั้งแต่สีขาว สีเหลือง สีครีม สีน้ำตาล สีดำ และแบบที่เป็นลวดลายต่าง ๆ แต่ส่วนใหญ่แล้วเมล็ดจะมีสีน้ำตาล และยังมีขนาดต่าง ๆ กัน โดยน้ำหนัก 100 เมล็ด อยู่ในช่วง 11-4.6 กรัม
1. ฝักอ่อนถั่วพูช่วยบำรุงร่างกาย (ฝักอ่อน) หรือจะใช้เมล็ดแก่ตากแห้งนำมาบดให้เป็นผง นำมาละลายกับน้ำครั้งละ 5-6 กรัม ใช้รับประทานก่อนอาหารวันละ 3 เวลา (เมล็ด) ส่วนหัวก็ช่วยบำรุงร่างกายด้วยเช่นกัน (หัว) 2. หัวใต้ดินนำมาเผาหรือนึ่งกินช่วยบำรุงกำลัง หรือจะใช้รากถั่วพูใช้ผสมกับสมุนไพรและน้ำดอกไม้ใช้เป็นยาชูกำลังก็ได้เช่นกัน (หัว, ราก) และอีกตำราบอกว่าให้ใช้เมล็ดแก่นำมาต้มให้สุกแล้วรับประทาน หรือจะนำเมล็ดที่ต้มสุกแล้วมาบดให้ละเอียดผสมกับน้ำสุก ใช้ดื่มก่อนอาหารวันละ 3 เวลาก็จะช่วยทำให้สุขภาพแข็งแรง เพิ่มกำลังวังชาได้เช่นกัน 3. หัวถั่วพู เมื่อนำมาตากแห้งแล้วคั่วให้เหลือง ใช้ชงกับน้ำดื่ม ช่วยแก้อาการอ่อนเพลียได้ ส่วนฝักอ่อนก็ช่วยได้เช่นกัน (หัว, ฝักอ่อน) 4. ถั่วพูอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินเอ ซี อี และยังเป็นผักที่มีโปรตีนสูง ซึ่งเป็นตัวช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายและทำให้ร่างกายแข็งแรง (ฝัก) 5. หัวมีรสชุ่มเย็น ช่วยทำให้ดวงจิตชุ่มชื่น (หัว) 6. การรับประทานถั่วพูเป็นประจำจะช่วยบำรุงกระดูกและฟันได้เป็นอย่างดี เพราะถั่วพูมีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง (ฝัก) 7. รากใช้ประกอบสมุนไพรและน้ำดอกไม้ ใช้เป็นยาแก้โรคหัวใจ (ราก) 8. หัวถั่วพูช่วยแก้ไข้กาฬ (หัว) 9. ช่วยแก้อาการตัวร้อน ลดไข้ในเด็กทารก (ฝักอ่อน) 10. ใบถั่วพูช่วยแก้อาการอาเจียน (ใบ) 11. หัวช่วยแก้อาการร้อนใน กระหายน้ำ (หัว) 12. ถั่วพูเป็นผักที่มีเส้นใยอาหารสูง จึงช่วยระบบขับถ่ายให้ทำงานอย่างเป็นปกติ ช่วยป้องกันอาการท้องผูก (ฝัก) 13. ช่วยแก้อาการปวดมวนท้อง (ราก) 14. ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย (ฝักอ่อน) 15. รากถั่วพูช่วยแก้โรคลมพิษกำเริบ ทำให้คลั่งเพ้อ (ราก) 16. รากใช้ปรุงเป็นยาโรคเพื่อวาโยธาตุกำเริบ ใช้รักษาดีพลุ่งพล่าน ให้คลั่งเพ้อ อาการปวดมวนท้อง กระทำให้ตาแดง ซึ่งในตำรับยาประกอบไปด้วย รากถั่วพู, พริกไทย, จันทร์ทั้งสอง, กฤษณาเสมอภาค, น้ำกระทือ, น้ำมะนาว, น้ำอ้อย, และคุลีการละลาย (ราก)
พริกกะเหรี่ยงจัดเป็นพริกขี้หนูที่นิยมปลูกกันมากชนิดหนึ่งโดยปลูกกันมากตามแนวเขตชายแดนไทย-พม่า เช่น เพชรบุรี กาญจนบุรี และตาก เนื่องจากเป็นพริกพันธุ์พื้นเมืองที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม สามารถปรับตัวได้ดี มีระยะการเก็บเกี่ยวนาน 7-8 เดือน
เฉลี่ย 200-300 กิโลกรัมต่อไร่
ไม้ล้มลุกสูง 0.3-1.5 เมตร มีเอกลักษณ์เฉพาะทั้งในด้านรูปร่าง สีผิว รวมทั้งมีสารแคปไซซินที่ให้ความเผ็ดสูง และมีความหอมซึ่งเป็นลักษณะเด่นประจำพันธุ์ ทำให้เป็นที่นิยมของทั้งผู้บริโภคและโรงงานอุตสาหกรรม
ไม้ล้มลุกสูง 0.3-1.5 เมตร มีเอกลักษณ์เฉพาะทั้งในด้านรูปร่าง สีผิว รวมทั้งมีสารแคปไซซินที่ให้ความเผ็ดสูง และมีความหอมซึ่งเป็นลักษณะเด่นประจำพันธุ์ ทำให้เป็นที่นิยมของทั้งผู้บริโภคและโรงงานอุตสาหกรรม
มีวิตามินซี สูง เป็นแหล่งของกรด ascorbic ซึ่งสารเหล่านี้ ช่วยขยายเส้นโลหิตในลำไส้และกระเพาะอาหารเพื่อให้ดูดซึมอาหารดีขึ้น ช่วยร่างกายขับถ่าย ของเสียและนำธาตุอาหารไปยังเนื้อเยื่อของร่างกาย
ลักษณะเด่นพริกกะเหรี่ยง 1. มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม ทนทานต่อสภาวะอากาศ และโรคแมลง 2. ลำต้นใหญ่ การแตกแขนงดี สามารถให้ผลผลิตติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน 3. เป็นที่นิยมทำเป็นพริกตากแห้งได้ดี คุณภาพผลสด 3 กิโลกรัม ตากแห้งได้ 1-1.3 กิโลกรัม 4. มีความเผ็ด และหอมซึ่งเป็นลักษณะประจำพันธุ์ของพริกกะเหรี่ยง 5. โรงงานทำซอสพริกนิยมนำไปปั่นผสมกับพริกหนุ่มเขียว เพื่อเพิ่มความเผ็ด และความหอม
แหล่งที่มา : กิ่งฉัตร แสงทองดี. 2560. [สื่อออนไลน์]. สืบค้นจาก : https://sites.google.com/site/phrikkraheriyng/ (29 สิงหาคม 2560)
แนะนำให้ปลูกในพื้นที่นาน้ำฝนและนาชลประทาน โดยเฉพาะแหล่งที่มีความต้องการปลูกข้าวคุณภาพพิเศษสำหรับกลุ่มผู้บริโภคที่รักสุขภาพ
ประมาณ 797 กิโลกรัมต่อไร่
ลำต้น เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก เป็นพืชตระกูลหญ้า มีอายุสั้นเพียงฤดูเดียว ลำต้นตั้งตรง ลำต้นมีลักษณะกลมเล็กๆ มีข้อและปล้องกลวง ช่วงโคนต้นมีข้อและปล้องสั้นกว่า และยาวขึ้นเรื่อยๆ มีเปลือกหนา มีขนหยาบๆปกคลุม ต้นมีสีเขียว ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามสลับกัน ใบมีลักษณะยาวรี ขอบใบเรียบ มีเส้นกลางใบตามยาวเห็นชัด ก้านใบออกหุ้มรอบๆลำต้น มีขนเล็กๆปกคลุม ผิวใบสากมือ สีเขียว ราก เป็นระบบรากฝอย มีลักษณะกลมเล็กๆ แทงลงในดิน มีรากออกที่ข้อลำต้นที่อยู่ใต้ดิน ออกบริเวณรอบๆลำต้น มีสีน้ำตาล ดอก ออกเป็นช่อ ออกปลายยอด ก้านช่อดอกยาว มีดอกย่อยจำนวนมาก มีลักษณะทรงรีเล็กๆ มีสีขาว มีเกสรสีเหลืองเบาปลิวกระจายได้ ก้านช่อดอกสั้น ผล เป็นเมล็ด อยู่เป็นช่อ มีลักษณะทรงรี เรียวยาวเล็กๆ มีเปลือกแข็งแห้งหุ้มเมล็ด เปลือกเมล็ดอ่อนมีสีเขียว เปลือกเมล็ดมีสีเหลืองทอง ข้างในมีเมล็ดแข็งมาก มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงเข้ม เมล็ดมีสีน้ำตาลแดงเข้ม เมื่อหุงสุกแล้วเมล็ดจะร่วนสวย นุ่มเหนียว มีกลิ่นหอม
ลำต้น เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก เป็นพืชตระกูลหญ้า มีอายุสั้นเพียงฤดูเดียว ลำต้นตั้งตรง ลำต้นมีลักษณะกลมเล็กๆ มีข้อและปล้องกลวง ช่วงโคนต้นมีข้อและปล้องสั้นกว่า และยาวขึ้นเรื่อยๆ มีเปลือกหนา มีขนหยาบๆปกคลุม ต้นมีสีเขียว ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามสลับกัน ใบมีลักษณะยาวรี ขอบใบเรียบ มีเส้นกลางใบตามยาวเห็นชัด ก้านใบออกหุ้มรอบๆลำต้น มีขนเล็กๆปกคลุม ผิวใบสากมือ สีเขียว ราก เป็นระบบรากฝอย มีลักษณะกลมเล็กๆ แทงลงในดิน มีรากออกที่ข้อลำต้นที่อยู่ใต้ดิน ออกบริเวณรอบๆลำต้น มีสีน้ำตาล ดอก ออกเป็นช่อ ออกปลายยอด ก้านช่อดอกยาว มีดอกย่อยจำนวนมาก มีลักษณะทรงรีเล็กๆ มีสีขาว มีเกสรสีเหลืองเบาปลิวกระจายได้ ก้านช่อดอกสั้น ผล เป็นเมล็ด อยู่เป็นช่อ มีลักษณะทรงรี เรียวยาวเล็กๆ มีเปลือกแข็งแห้งหุ้มเมล็ด เปลือกเมล็ดอ่อนมีสีเขียว เปลือกเมล็ดมีสีเหลืองทอง ข้างในมีเมล็ดแข็งมาก มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงเข้ม เมล็ดมีสีน้ำตาลแดงเข้ม เมื่อหุงสุกแล้วเมล็ดจะร่วนสวย นุ่มเหนียว มีกลิ่นหอม
1. ด้วยมีคุณค่าทางอาหารสูง มีโปรตีน ธาตุเหล็ก และฟอสฟอรัสสูง 2. ประโยชน์ในการบำรุงโลหิต 3. บำรุงร่างกายให้แข็งแรง
ข้าวทับทิมชุมแพ เกิดจากการผสมพันธุ์ ระหว่างข้าวเจ้าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 กลายพันธุ์จากรังสี ทรงต้นเตี้ย ที่มีลักษณะต้านทานต่อโรคไหม้ไม่ไวต่อช่วงแสงเป็นพันธุ์แม่ กับข้าวเจ้าพันธุ์สังข์หยด ซึ่งเป็นข้าวเจ้าที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงไวต่อช่วงแสงอายุหนัก ต้นสูง เป็นพันธุ์พ่อ
พื้นที่ภาคเหนือตอนบน
450 – 510 กิโลกรัมต่อไร่
ลำต้นตั้ง ใบสีเขียวเข็มค่อนข้างตั้ง หูใบสีม่วง เยื่อหุ้มเมล็ดสีม่วง
ลำต้นตั้ง ใบสีเขียวเข็มค่อนข้างตั้ง หูใบสีม่วง เยื่อหุ้มเมล็ดสีม่วง
สมัยก่อนหญิงไทยที่มีการตกเลือดหลังคลอดลูก จะใช้ต้นข้าวเหนียวดำ หรือข้าวก่ำมาต้มกับใบชาดื่มแก้อาการตกเลือด และวิตามินอีในข้าวเหนียวดำช่วยบำรุงสายตา ช่วยบำรุงผิว ลดรอยด่างดำ ลดรอยหยาบกร้าน
ข้าวจ้าวก่ำสายน้ำแร่แจ้ซ้อน มีการแตกกอดี อายุการเก็บเกี่ยว 120 วัน ไม่ไวแสง ความสูงเมื่อเก็บเกี่ยวประมาณ 110-120 เซ็นติเมตร เมล็ดข้าวเปลือกเรียวยาวระหว่างพัฒนามีสีม่วงและเปลี่ยนเป็นสีฟางเข้มเมื่อสุกแก่ เยื่อหุ้มเมล็ดข้าวกล้องสีม่วงเข้มและมีน้ำหนัก 21.30 กรัม (ต่อข้าวกล้อง 1,000 เมล็ด) ขนาดข้าวกล้อง : กว้าง 2.09 มิลลิเมตร ยาว 7.28 มิลลิเมตร หนา 1.7 มิลลิเมตร เมื่อหุงสุกไม่แข็ง อ่อนนุ่ม แหล่งที่มาของพันธุ์ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาลำปาง เก็บรวบรวม พันธุ์จากแปลงเกษตรกรที่ปลูกข้าวสีในจังหวัดลำปาง(ปี2549) แล้วคัดเลือกข้าวจากรวงที่มีเมล็ดลักษณะที่ดี ดำเนินการปลูกและคัดต่อเนื่อง จนได้ข้าวที่สม่ำเสมอ จึงกระจายเมล็ดพันธุ์ด้วยตนเอง และปลูกจำหน่ายในชื่อกลุ่มของกลุ่มวิสาหกิจที่กลุ่มตั้งขึ้น วิสหกิจชุมชนกลุ่มข้าวทิพย์ร่มโพธิ์ ได้รับมอบเมล็ดพันธ์ุข้าวจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาลำปาง โดย ผศ.อัครเดช พิมพะนิตย์ และ ดร.ไกรสีห์ พิสิษฐ์กุล ทางกลุ่มฯ ได้นำมาปลูกโดยใช้น้ำแร่จากอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน จึงให้ตั้งชื่อว่า "ข้าวจ้าวก่ำสายน้ำแร่แจ้ซ้อน" ตามสภาพพื้นที่ปลูกนาข้าวได้รับน้ำแร่จากบ่อน้ำแร่แจ้ซ้อน
เป็นต้นไม้ประเภทไม้เลื้อย มีความสูงประมาณ 5 เมตร ลักษณะของลำต้นเป็นข้อๆ เป็นต้นไม้ที่มีอายุยืน ระบบรากของต้นพริกไทยจะมีเกิดบริเวณข้อตามลำต้นเป็นรากเล็กๆจะเป็นรากที่ ช่วยยึดเกาะ และมีรากที่อยู่ในดินขนาดใหญ่ประมาณ 3-6 ราก แต่ละรากจะมีรากฝอย ลักษณะใบจะมีสีเขียวสด ใบใหญ่คล้ายใบโพ ดอกของพริกไทยจะมีขนาดเล็ก จะออกช่อตามข้อเป็นพวง เมล็ดจะมีลักษณะกลมติดกันเป็นพวง
เป็นต้นไม้ประเภทไม้เลื้อย มีความสูงประมาณ 5 เมตร ลักษณะของลำต้นเป็นข้อๆ เป็นต้นไม้ที่มีอายุยืน ระบบรากของต้นพริกไทยจะมีเกิดบริเวณข้อตามลำต้นเป็นรากเล็กๆจะเป็นรากที่ ช่วยยึดเกาะ และมีรากที่อยู่ในดินขนาดใหญ่ประมาณ 3-6 ราก แต่ละรากจะมีรากฝอย ลักษณะใบจะมีสีเขียวสด ใบใหญ่คล้ายใบโพ ดอกของพริกไทยจะมีขนาดเล็ก จะออกช่อตามข้อเป็นพวง เมล็ดจะมีลักษณะกลมติดกันเป็นพวง
พริกไทยดำ มีประโยชน์ในการรักษาโรคต่าง ๆ เช่น โรคกระเพาะ ลำไส้ แก้ปวด แก้อักเสบ เป็นต้น ทางตำราจีน จะใช้พริกไทยดำ ในการรักษา โรคท้องเดินจากอหิวาต์ โรคมาลาเรีย และแก้ไข้ น้ำมันในพริกไทยดำ
พืชที่สร้างความเผ็ดร้อน แก่อาหารเพิ่มรสชาติที่ดี ไม่ควรรับประทานพริกไทยมากเกินไป ผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคตาและเจ็บคอไม่ควรรับประทาน พริกไทยดำจะมีสรรพคุณทางยามากกว่าพริกไทยล่อนโดยเฉพาะสรรพคุณที่นำมาประกอบเป็นยาอายุวัฒนะ
ชาตัวนี้มีสารชนิดหนึ่งขี่อ Gymnema ลดการดูดซึมของน้ำตาลในเลือด และก็มีส่วนเพิ่มอินซูลิน มีการนำสารตัวนี้ไปเป็นส่วนประกอบของยาลดเบาหวาน
ชาจากสมุนไพรพื้นบ้าน ราชินีของผักพื้นบ้านทางภาคเหนือ ชาเชียงดาออร์แกนิก สำหรับผู้ที่มีปัญหาระดับน้ำตาลในเลือดสูง ช่วยปรับระดับอินซูลินในร่ายกายให้อยู่ในสภาวะที่สมดุล วิตามิน C และ E สูง ชะลอความชรา ช่วยลดน้ำหนักได้