ข้อมูลความรู้ทั้งหมด

การบันทึกข้อมูลในโทรศัพท์ Smart Phone_ระบบการผลิตพืช

ขั้นตอนการบันทึกข้อมูลด้วยโทรศัพท์มือถือ (Smart Phone) สำหรับเกษตรกรที่มีการผลิตพืช 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การผลิตกระเทียมปลอดโรค

เทคนิคการลดปริมาณเชื้อไวรัสในหัวพันธุ์กระเทียม         คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำผลงานวิจัยเทคนิคการลดปริมาณเชื้อไวรัสที่ติดมากับหัวพันธุ์กระเทียม เผยแพร่สู้เกษตรกรผู้ปลูกกระเทียม อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน         โดยนำหัวพันธุ์กระเทียมไปแช่ในน้ำอุ่นที่มีอุณหภูมิ 55-60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 45 นาที แล้วจึงนำไปผ่านน้ำเย็น และแขวนผึ่งในที่ร่ม ทิ้งไว้จนหัวพันธุ์แห้งสนิท จะสังเกตเห็นว่าเปลือกของหัวพันธุ์กระเทียมจะมีสีม่วงเข้มขึ้นจากเดิม จากนั้นเกษตรกรสามารถนำไปแกะกลีบเพื่อใช้เพาะปลูกตามปกติต่อไป ความร้อนที่หัวพันธุ์ได้รับจะช่วยลดปริมาณเชื้อไวรัสในหัวพันธุ์กระเทียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยทำให้พืชเจริญได้ดีขึ้น สามารถลดการใช้สารเคมีควบคุมศัตรูพืช ทำให้หัวกระเทียมมีขนาดและน้ำหนักเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30 ส่งผลให้เกษตรกรมีผลผลิตที่มีคุณภาพและปริมาณเพิ่มขึ้น เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกระเทียม (ภาพซ้าย) ไม่ได้แช่น้ำอุ่น (ภาพขวา) แช่น้ำอุ่น   ชุดแช่น้ำอุ่น    

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การผลิตต้นพันธ์สตอรว์เบอรี่ที่ตรงตามสายพันธ์ปลอดโรค

ขั้นตอนการผลิตต้นพันธุ์สตรอว์เบอร์รี่ปลอดโรค 1. คัดเลือกไหลจากต้นแม่พันธุ์สตรอว์เบอร์รี่ที่สมบูรณ์ ไม่มีโรคและแมลงจากโรงเรือนที่เพาะเลี้ยง 2. เพาะเลี้ยงปลายยอดขนาด 0.3 มม. บนอาหาร MS 3. ย้ายลงเลี้ยงในสูตรอาหารกระตุ้นการแตกกอ เป็นเวลา 40-50 วัน 4. แยกต้นเดี่ยวๆย้ายไปเลี้ยงในอาหารMS ที่ไม่มีฮอร์โมนซึ่งขั้นตอนนี้จะได้เป็นต้นพันธุ์ปลอดโรค 5. นำต้นพันธุ์สตรอว์เบอร์รี่ปลอดโรคส่งเสริมสู่เกษตรกร การผลิตต้นแม่พันธุ์สตรอว์เบอร์รี่ที่ตรงตามพันธุ์และปลอดโรค             สตรอว์เบอร์รี่ เป็นผลไม้ที่สามารถรับประทานผลสด อันได้แก่ พันธุ์พระราชทาน80 เป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยม เนื่องจากเมื่อสุกมีกลิ่นหอม รสหวานและเนื้อผลแน่นสีแดงสด เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารต่อต้านอนุมูลอิสระ         แต่ในปัจจุบัน พบว่าการปลูกสตรอว์เบอร์รี่เริ่มประสบปัญหาลักษณะ ผลไม่ตรงตามมาตรฐานสายพันธุ์ และพบการเข้าทำลายของโรคและแมลง โดยสาเหตุหลักมาจากการ ระบาดของเชื้อรา เนื่องจากใช้ต้นพันธุ์ที่ผลิตซ้ำมาเป็นเวลานาน ก่อให้เกิดความเสียหายตั้งแต่ระยะ ต้นกล้า-ระยะเก็บเกี่ยว เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวจึงได้ดำเนินการผลิตต้นแม่พันธุ์สตรอว์เบอร์รี่จากการ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ให้ได้ต้นกล้าพันธุ์ที่มีคุณภาพสูงและปลอดโรค เพื่อใช้ออกส่งเสริมแก่เกษตรกรและสามารถใช้เป็นการค้าได้

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

Page 1 of 1, showing 3 records out of 3 total, starting on record 1, ending on 3