หน่วยตรวจสอบย้อนกลับสินค้าเกษตร

Agricultural Product Traceability Unit

คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ความหมายของระบบตรวจสอบย้อนกลับ

เป็นกระบวนการทวนสอบขั้นตอนการปฏิบัติในการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์เกษตร ตั้งแต่การผลิตในระดับไร่นา การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การแปรรูป และการจัดจำหน่ายจนถึงมือผู้บริโภค เพื่อควบคุมคุณภาพและ ความปลอดภัยของสินค้าและผลิตภัณฑ์ สามารถเรียกทวนสอบย้อนกลับข้อมูลในแต่ละขั้นตอนตลอดห่วงโซ่การผลิตและสามารถเรียกคืนสินค้าและผลิตภัณฑ์ได้หากมีข้อบกพร่องเกิดขึ้น

ลักษณะสำคัญของระบบตรวจสอบย้อนกลับ

ระบบตรวจสอบย้อนกลับ เป็นระบบซอฟต์แวร์ตรวจสอบย้อนกลับทางอินเทอร์เน็ตผ่านตัวเชื่อมโยง คือ คิวอาร์โค้ด (QR Code) ของสินค้าและผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดภัย เพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาลด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าเกษตรในระดับประเทศและมุ่งหวังไปสู่ระดับสากล โดยเน้นเพิ่มความสะดวกสบายในการรับรู้ของผู้บริโภคแบบ end-to-end เป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับสินค้าและผลิตภัณฑ์เกษตรของเกษตรกรไทย ให้สามารถขยายโอกาสด้านตลาดของอาหารไทยสู่ทั่วโลก

ตราสัญลักษณ์ของหน่วยตรวจสอบย้อนกลับ


คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานหน่วยตรวจสอบย้อนกลับ

ตราดอกสัก

เป็นดอกสัก ต้นไม้ที่มีค่าแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของภาคเหนือ

สัญลักษณ์ QR CODE

เป็นตัวกลางการเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค

Agricultural Product Traceability Unit

หน่วยตรวจสอบย้อนกลับสินค้าเกษตร

ความสำคัญของหน่วยตรวจสอบย้อนกลับสินค้าเกษตร

ตามที่ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินงานภายใต้โครงการศึกษาแนวทางการเชื่อมโยงข้อมูลสินค้าและกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ตามแผนนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจ Thailand 4.0 มุ่งผลักดันและใช้มาตรการด้านกฎหมาย ส่งเสริมให้มีการใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับสินค้าและผลิตภัณฑ์เกษตรอย่างทั่วถึงทั้งประเทศ ส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยมีการตื่นตัวในการจัดทำข้อมูล เพื่อให้สินค้าและผลิตภัณฑ์มีคุณภาพ ปลอดภัย และได้มาตรฐาน

พันธกิจของหน่วยตรวจสอบย้อนกลับสินค้าเกษตร

    1. ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบตรวจสอบย้อนกลับสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์เกษตรให้กับเกษตรกร
    2. ยกระดับการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์เกษตรสู่การผลิตที่ได้มาตรฐานเพื่อสนับสนุนความต้องการด้านอาหาร
    3. พัฒนาส่งเสริมสินค้า ผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดภัย ตลอดจนห่วงโซ่การผลิตและการตลาดในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน
    4. รณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจในคุณภาพและมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยให้กับผู้บริโภค

เป้าหมายการให้บริการของหน่วยตรวจสอบย้อนกลับสินค้าเกษตร

    1. เป็นศูนย์กลางด้านการตรวจสอบย้อนกลับสินค้าและผลิตภัณฑ์เกษตรระหว่างเกษตรกร ผู้บริโภค และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    2. เป็นศูนย์กลางการให้บริการข้อมูลข่าวสารด้านการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์เกษตร และอาหารปลอดภัย